หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
1. การทดสอบ Consolidation ที่ท่านได้ทดสอบตัวอย่างดิน มีลักษณะการระบายน้ำอย่างไร
 
2. จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
         a. Coefficient of Consolidation
         b. Percentage of Consolidation
         c. Excess Pore Water Pressure
         d. Maximum Past Pressure
         e. Compressibility Index
         f. Primary Consolidation
         g. Secondary Consolidation
         h. Lever Arm Ratio
 
3. ถ้าต้องการหาค่า Cv จากตัวอย่างดินเหนียว ซึ่งบรรจุอยู่ในวงแหวนโดยวิธีของ Terzaghi’s ต้องดำเนินการอย่างไร
 
4. การทดสอบ Consolidation ของดินเหนียวตัวอย่าง Undisturbed ชนิดเดียวกัน โดยเพิ่มน้ำหนักบรรทุกแบบเร็วกับแบบทิ้งน้ำหนักบรรทุกไว้ครั้งละ 24 ชั่วโมง จะให้ผลแตกต่างกันอย่างไร อธิบายเหตุผลและให้เขียน e-log s’ curve เปรียบเทียบ
 
5. Consolidation Settlement ในดินทรายมีค่าเป็นอย่างไร
 
6. จงอธิบายถึงวิธีหาค่า t90
 
7. เหตุใดปัญหาการทรุดตัวของพื้นดินจึงเป็นปัญหาระดับประเทศ
 
8. ผลการทดสอบ Consolidation ของดินเหนียวตัวอย่าง Undisturbed ความหนา 2.5 ซม. โดยระบายน้ำได้สองข้าง พบว่ามีค่า t90 = 20 นาที ในสภาพจริง ชั้นดินมีความหนา 8 ม. ระบายน้ำได้ทางเดียว ชั้นดินนี้จะใช้เวลาในการทรุดตัว 90 % กี่ปี
 
9. การทดสอบ Consolidation ของตัวอย่างดินเหนียวคงสภาพ จากชั้นดินที่ระดับความลึก 5 ม. และมีระดับน้ำใต้ดินอยู่ที่ความลึก 1 ม. โดยใช้ตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.35 ซม. หนา 2.5 ซม. หนัก 137 กรัม พบว่า เมื่อเพิ่มน้ำหนักบรรทุกจาก 8 กก. ไปเป็น 16 กก. (เครื่องมือมี arm ทด 10 เท่า) อัตราส่วนช่องว่างของดินลดน้อยลงเท่ากับ 0.15 โดยใช้เวลาในการยุบตัว 90% เท่ากับ 40 นาที และจากผลการทดสอบหาค่า Preconsolidation Pressure ของดินตัวอย่างนี้ได้เท่ากับ 10 ตัน/ม2
         ก. ค่า Total Unit Weight ของดินนี้เท่ากับเท่าใด
         ข. ค่า Effective Overburden Pressure ของดินนี้เท่ากับเท่าใด
         ค. ค่า Over Consolidation Ratio ของดินนี้เท่ากับเท่าใด
         ง. ค่า Compression Index ของดินนี้เท่ากับเท่าใด
         จ. ค่า Coeffectient of Consolidation ของดินนี้เท่ากับเท่าใด
 
10. ข้อมูลการทดสอบ Consolidation ของดินเหนียวตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งมีความหนา 20 มม. มีดังนี้
 
เวลา (นาที)
การทรุดตัว (มม.)
0
0
0.25
0.30
1
0.36
4
0.50
9
0.61
16
0.73
36
0.90
64
0.95
100
0.97
 
         ให้หาค่า Coefficient of Consolidation
 
11. ดินตัวอย่างในข้อ 10 เมื่อเพิ่มน้ำหนักบรรทุก ได้ข้อมูลการทรุดตัวที่น้ำหนักบรรทุกต่าง ๆ ดังนี้
 
น้ำหนักบรรทุก (ตัน/ม2)
อัตราส่วนช่องว่าง
0
0.70
10
0.66
20
0.65
40
0.62
80
0.55
160
0.46
40
0.48
10
0.51
 
         ให้หาค่า Compression Index, Swelling Index และ Maximum Past Pressure
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์วิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์