หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
          การทรุดตัวของชั้นดินเนื่องจาก Primary Consolidation มักเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหาย เช่น การทรุดตัวของถนนบริเวณคอสะพาน, การแตกร้าวของอาคารอันเนื่องจากทรุดตัวมากเกินไปหรือทรุดตัวไม่เท่ากัน (Differential Settlement), การทรุดตัวของพื้นโรงงานหรือพื้นอาคารชั้นล่างซึ่งถ่ายน้ำหนักลงบนผิวดินโดยตรง
การทรุดตัวของถนนบริเวณคอสะพาน
การแตกร้าวของอาคารอันเนื่องจากทรุดตัวมากเกินไปหรือทรุดตัวไม่เท่ากัน
(Differential Settlement)
การทรุดตัวของพื้นโรงงานหรือพื้นอาคารชั้นล่างซึ่งถ่ายน้ำหนักลงบนผิวดินโดยตรง
          ถ้าเราลองพิจารณาชั้นดินสมมติในรูปที่ 1 เป็นชั้นของดินเหนียวชุ่มน้ำอยู่ระหว่างชั้นของทรายข้างล่างและข้างบน สมมติให้ระดับน้ำใต้ดินปกติ (Static Ground Water Level) อยู่ที่ผิวดินในรูป 1 (a) เมื่อมีน้ำหนักภายนอกกระทำบนผิวดิน (Q) ทันทีทันใดระดับน้ำในชั้นดินเหนียวก็จะสูงขึ้นเท่ากับ Uo เรียกว่า Initial Excess Pore Pressure เมื่อเปรียบเทียบระดับน้ำในชั้นทรายซึ่งจะลดลงลงสู่สมดุลโดยเร็ว น้ำในชั้นของดินเหนียวก็พยายามจะไหลออกไปสู่ชั้นทรายซึ่งมีความดันต่ำกว่า และเมื่อเวลาผ่านไปน้ำในชั้นดินเหนียวบางส่วนได้ไหลออกไป Excess Pore Pressure ก็จะต่ำลง ดังในรูปที่ 1(b) ต่อเมื่อเวลาผ่านไปนานพอ (t = tf = ) ระดับความดันในชั้นดินเหนียวก็จะคืนเข้าสู่ความดันปกติ
          แต่เนื่องจากมวลดินเหนียวอยู่ในสภาพชุ่มน้ำ (Saturated) เพราะฉะนั้นมวลดินรวมก็จะประกอบด้วยเนื้อดิน (Solid) และน้ำระหว่างเม็ดดินเท่านั้น เมื่อน้ำจำนวนหนึ่งไหลออกไปก็จึงทำให้เกิดการลดปริมาตรของมวลดินขึ้น คือการลดความหนาของชั้นดินเหนียวนั่นเอง
รูปที่ 1 Consolidation Process
คุณสมบัติสำคัญทางการทรุดตัว ที่เราต้องการทราบมี 2 ประการด้วยกันคือ
          1. อัตราความเร็วในการทรุดตัว (Rate of Settlement) คือ อัตราเร็วของน้ำที่สามารถไหลออกจากชั้นดิน ซึ่งขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งเหล่านี้
          ก. มวลดินมีความชุ่มน้ำมากน้อยเพียงใด (Degree of Saturation)
          ข. ความสามารถของดินที่ให้น้ำซึมได้ดีเพียงใด (Coefficient of Permeability)
          ค. ระยะที่น้ำจะต้องซึมผ่าน (Drainage path) ไปสู่จุดสมดุลย์
          จาก Terzaghi’s Consolidation Theory ซึ่งเมื่อทำการวิเคราะห์ทางเชิงคณิตศาสตร์ออกมาแล้วเราจะได้ ดัชนีค่าหนึ่งซึ่งบ่งถึงคุณสมบัติเกี่ยวกับการทรุดตัวเราเรียกว่า “Coefficient of Consolidaton, (Cv)”
T = Time factor เป็นค่าคงที่ขึ้นอยู่กับ Percentage of Consolidation และลักษณะ ของ Initial Excess Pore pressure ดังในตารางที่ 1
  t = เวลาในการเปิด Percentage of Consolidation ต่างๆ
  H = ระยะไกลที่สุดที่น้ำในมวลดินจะต้องไหลออกมาสู่จุดสมดุล
          2. ปริมาณการทรุดตัวสูงสุด (Total Settlement) ซึ่งจะบ่งโดย “ดัชนีของการทรุดตัว” (Compressibility Index), Cc
ตารางที่ 1 Time Factor
PERCENTAGE OF CONSOLIDATION, U Time Factor T
CASE 1 CASE 2 CASE 3
0
5
10
15
20
0
0.0020
0.0078
0.0177
0.0314
0
0.0030
0.0111
0.0238
0.0405
0
0.0208
0.0427
0.659
0.904
25
30
35
40
45
0.0491
0.0707
0.0962
0.126
0.159
0.0608
0.0847
0.112
0.143
0.177
0.128
0.145
0.187
0.207
0.242
50
55
60
65
70
0.197
0.239
0.286
0.342
0.403
0.215
0.257
0.305
0.359
0.422
0.281
0.324
0.371
0.435
0.488
75
80
85
90
95
0.477
0.567
0.674
0.848
1.129
0.495
0.586
0.702
0.867
1.148
0.562
0.652
0.769
0.933
1.214
100
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์วิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์