หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
          1. คำนวณหาค่าแรงกดโดยสมการ;
            
 
          2. เขียนกราฟระหว่าง Test unit load ในแกนตั้งกับ penetration ในแกนนอน จากค่าที่ได้ทั้ง Unsoaked และ Soaked sample ลงในกระดาษกราฟแผ่นเดียวกัน โดยปกติแล้วจะได้รูป curve โค้งคว่ำผ่านจุด origin แต่บางครั้งอาจจะปรากฏว่า curve ที่ได้มีรัศมีลักษณะโค้งหงายในช่วงแรก ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการแก้ไขให้ได้ค่าที่ถูกต้องด้วยการลากเส้นตรงให้สัมผัสกับ curve ตรงส่วนที่มี slope ชันที่สุด ไปตัดกับแกนนอนที่จุดนั้นเป็น origin ใหม่และ origin ใหม่นี้จะต้องอยู่ทางด้านขวาของ origin เดิมเสมอ เรียกว่า “Initial Correction”
กราฟความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยแรงกดและระยะจม
          3. อ่านค่า test unit load จากกราฟที่ 0.1 และ 0.2 นิ้ว จากกราฟ และคำนวณหาค่า %CBR โดยค่า standard unit load ใช้ค่าจากตารางที่ 1
            
          4. คำนวณหาเปอร์เซ็นต์ความชื้นและ dry density ของดินตัวอย่างทั้งสอง
          5. ถ้า % CBR ที่ 0.2 “มีค่ามากกว่า % CBR ที่ 0.1 ให้ทำการทดสอบอีกครั้ง ถ้าผลยังเหมือนเดิมให้ใช้ % CBR ที่ 0.2”
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์การเตรียมตัวอย่างดินวิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์