หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
ก. ดินเหนียว (Cohesive Soil)
          ให้ดำเนินการเหมือนรายละเอียดในการเตรียมตัวอย่างดินข้อ 1 และข้อ 2 ในบท Unconfined Compression Test นอกจากการติดตั้งตัวอย่างใน Triaxial Cell ให้ทำดังนี้
          1. วางตัวอย่างดินลงบนฐาน Triaxial Cell โดยมี Porous Stone อยู่ระหว่างตัวอย่างและฐานเพื่อความสะดวกในการระบายน้ำเข้าออก ดังรูป
          2. ใส่ถุงยาง (Rubber membrane) ครอบตัวอย่างอย่างดิน โดยใช้ membrane stretcher แล้วรัดด้วย O-ring ให้ถุงยางติดแน่นกับฐาน โดยของเหลวภายนอกจะไม่สามารถซึมผ่านเข้าในตัวอย่างได้
          3. วาง Top Porous Stone และ Top Cap ลงบนตัวอย่างตามลำดับ ดึงผ้ายางให้คลุมอยู่ภายนอก Top Cap แล้วจึงรัดด้วย O-ring ให้แน่น ถ้า Top Cap มีสาย drain ให้ต่ออีกปลายหนึ่งเข้ากับ value A ที่ฐาน
          4. เอาครอบแก้วสวมลงบนตัวอย่างดิน ต้องระวังให้ Loading ram อยู่บนกึ่งกลางของ Top Cap พอดี แล้วขัน Screw ยึดกับฐานให้แน่น
การเตรียมตัวอย่างดินเหนียว
ข. ดินทราย (Granular Soil)
          เนื่องจากดินทรายไม่มีความเหนียว (Cohesion) จึงไม่สามารถตัดแต่งให้เป็นรูปทรงกระบอกได้เหมือนดินเหนียว แต่ต้องอาศัยแบบแยก (Split former) ช่วยประคองถุงยางเอาไว้ ดังรูปด้านล่าง และการเตรียมอาจทำได้ ด้วยตัวอย่างชุ่มน้ำ (Saturated Sample) และตัวอย่างแห้ง
          1. ใส่ถุงยางลงบนฐานเสียก่อน รัดด้วย O-ring, วาง Split former ให้สวมลงบนปลายของถุงยางด้านบนให้ดึงออกมารัดไว้ภายนอก former
          2. ชั่งน้ำหนักทรายตัวอย่างให้เกินพอ ค่อยโรยลงไปโดยอาศัยกรวย (Funnel) จะทำให้ความหนาแน่นคงที่ แล้วชั่งน้ำหนักทรายที่เหลือ
          3. ขั้นตอนต่อไปให้ทำเหมือนข้อ 3 และ 4 ของการเตรียมตัวอย่างดินเหนียว
คลิกเพื่อขยายรูป
การเตรียมตัวอย่างดินทราย
การทำให้ดินชุ่มน้ำ (Saturation of Sample)
          ส่วนใหญ่แล้วตัวอย่างดินต้องอยู่ในสภาพชุ่มน้ำ (Saturated) ซึ่งสามารถดำเนินการได้ดังนี้ ดูรูปด้านล่างประกอบ
          1. ปล่อยน้ำ * เข้าทาง Valve C เข้าภายใน Cell รอบนอกตัวอย่างดินให้เต็มล้นออกทาง Bleeding Value ด้านบน Cell (ส่วนบนของ Cell มักใส่น้ำมันเครื่องหรือน้ำมันละหุ่ง เพื่อป้องกันน้ำรั่วออกทาง Loading ram และช่วยหล่อลื่นไปด้วยในตัว)
หมายเหตุ *น้ำที่ใช้ใน Triaxial Test ควรเป็นน้ำกลั่นที่ดูดเอาฟองอากาศออกแล้ว(De-aired, Distalled water) เพื่อง่ายในการไล่ฟองอากาศ และไม่ทำให้เกิดตะกอนอันจะทำให้ valve ต่างๆ ชำรุดได้ภายหลัง
          2. เพิ่มความดันของ Confining pressure ไว้เล็กน้อยประมาณไม่เกิน 5 psi เพื่อช่วยประคองตัวอย่างดินให้แข็งแรงขึ้น ปล่อยน้ำให้เข้าสู่ตัวอย่างทาง Valve B โดยมีความดันช่วยไม่เกิน 3 psi น้ำจะเคลื่อนจากฐานขึ้นสู่เบื้องบน ขณะเดียวกันก็จะไล่ฟองอากาศออกทาง Valve A จนหมด จึงปิด Value B และ A
          3. ในกรณีที่ต้องทำการวัดความดันในตัวอย่างดิน มักนิยมเพิ่มความดันภายในตัวอย่างและภายนอกตัวอย่างขึ้นเท่ากันประมาณ 20 – 30 psi เรียกว่า “Back Pressure” ซึ่งจะทำให้ฟองอากาศที่ยังหลงเหลืออยู่ละลายไปได้ เป็นการช่วยให้ดินชุ่มน้ำสมบูรณ์ขึ้น
คลิกเพื่อขยายรูป
แสดงการติดตั้งและทดสอบแรงอัด 3 แกน
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์การเตรียมตัวอย่างดินวิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์