หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
การเตรียมตัวอย่างดิน
ก. ตัวอย่างดินเหนียว (Cohesive Soil)
เครื่องมือที่ใช้ทดสอบ เรียกว่า Direct Shear Machine ดังแสดงในรูปด้านล่าง
คลิกเพื่อขยายรูป
          1. ตัวอย่างดินจะตัดโดย Trimmer ซึ่งเป็นวงแหวนกลมขอบหนึ่ง บางคมใช้กดตัวอย่าง ขนาดตัวอย่างมาตรฐานที่นิยมใช้ คือ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว และความหนา 1.0 นิ้ว ก่อนตัดตัวอย่างเราควรชั่งน้ำหนักเฉพาะ Trimmer เสียก่อน เมื่อตัดตัวอย่างเรียบร้อย จึงชั่งน้ำหนักทั้งตัวอย่าง และ Trimmer
          2. วัดขนาดตัวอย่างโดยละเอียดโดยใช้เวอร์เนีย ซึ่งทำให้เราคำนวณหาความหนาแน่นของตัวอย่างดินได้
          3. ค่อย ๆ ดันตัวอย่างออกจาก Trimmer โดยใช้ Top cap เป็นตัวช่วยให้ตัวอย่างบรรจุลงบน Shear box โดยมีการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด โดยขณะที่ Sliding ring จะถูกยึดใช้ติดกับ Stationary base โดยมี Alignment pin เป็นตัวยึด
          4. เมื่อตัวอย่างดินเข้าที่แล้วจัด loading bar ให้อยู่ในตำแหน่งที่พร้อมจะใส่ Normal load จัด Vertical dial gage, Horizontal dial gage และ Horizontal Shearing Device ให้เข้าที่ (ถ้าตั้งให้ Dial gage ทุกตัวอยู่ที่ 0 จะสะดวกที่สุด)
ข. ตัวอย่างดินทราย (Granular Soil)
          1. จัด Shear box ให้พร้อม โดยส่วน Sliding ring ยึดติดกับ Stationary base อาจจะยก Shear box ออกจาก Direct Shear Machine มาเตรียมข้างนอกเพื่อความสะดวกก็ได้
          2. เตรียมทรายที่ต้องการทดสอบให้มากพอ ประมาณ 250 หรือ 300 gm. ชั่งให้ทราบน้ำหนักแน่นอน แล้วนำไปเตรียมลงใน Shear box โดยใช้วิธีโรย แล้ว compact หรือ เขย่า ให้ได้ความหนาแน่นตามต้องการ
          3. วัดความสูงของตัวอย่างทราย และชั่งน้ำหนักทรายที่เหลือก็จะสามารถคำนวณหาความหนาแน่นได้ แล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 4 ของการเตรียมตัวอย่างดินเหนียว
ค. การเฉือนตัวอย่าง (Shearing)
          1. กดตัวอย่างดินด้วยน้ำหนัก (Normal load) ที่ต้องการแล้วรอให้การทรุดตัวทางแนวดิ่งหยุด ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 2 – 10 นาที
          2. เริ่มแรงเฉือนให้ตัวอย่าง โดยให้อัตราการเคลื่อนที่ตามแนวราบประมาณ 0.05 นิ้ว /นาที ถึง 0.10 นิ้ว / นาที โดยสม่ำเสมอ
          3. อ่านค่าแรงเฉือนจาก Proving ring dial, ค่าการเคลื่อนตัวทางแนวดิ่ง จาก Vertical dial gage ทุกๆ การเคลื่อนที่ตามแนวราบ 0.01 นิ้ว จนกระทั่งตัวอย่างดินไม่สามารถรับแรงเฉือนได้อีก โดยค่าจาก Proving ring dial จะลดลง
          4. เตรียมตัวอย่างเหมือนๆ กันอีก อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง โดยใช้น้ำหนัก (Normal load) แตกต่างกัน แล้วทำการทดลอง เหมือนข้อ 1 ถึงข้อ 4
   
ผู้ทดสอบ : นายศิริศักดิ์ จินดาพล, นายสุปรีชา ฟุ้งกีรติ
   
สถานที่ : ห้องปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน และ
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
   
ผู้บรรยาย : นางสาวธรรมธิดา รัตนประทีป
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์วิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์