หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
1. RR. Proctor คือใคร และเหตุใดจึงต้องมีการทดสอบการบดอัดดินแบบ Standard และ Modified
 
2. ในการทดสอบการบดอัดดิน (Compaction) เพื่อหาเส้นโค้งการบดอัด (Compaction Curve) เหตุใดจึงควรนำเอาดินที่จะทำการบดอัดมาผึ่งให้แห้งก่อนทดลอง
 
3. ดินที่จะนำมาทำการทดลอง Compaction Test ต้องร่อนผ่านตะแกรงเบอร์อะไร เพราะเหตุใด
 
4. ดินชนิดใดที่ควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการทำการบดอัดในห้องปฏิบัติการ เพราะเหตุใด
 
5. การทดลอง Compaction Test ควรมีการเปลี่ยนค่าความชื้นอย่างไร
 
6. จงอธิบายเปรียบเทียบความแตกต่าง , ข้อดี ข้อเสีย ในการบดอัด Dry Side of Optimum กับ Wet Side of Optimum
 
7. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การทดลองเรื่อง Compaction มีข้อผิดพลาดเนื่องจากการใช้ตัวอย่างดินชุดเดิม คืออะไร
 
8. การตรวจสอบผลการทดลองเรื่อง Compaction อย่างง่ายๆ ว่าเป็นการทดลองที่ให้ผลถูกต้องเป็นที่น่าเชื่อถือโดยการพิจารณากราฟ คืออะไร ตอบมาอย่างน้อย 2 ข้อ
 
9. อะไรคือความแตกต่างที่สำคัญที่สุด ระหว่าง Standard Compaction และ Modified Compaction ตอบมาเพียงคำเดียว
 
10. เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกทดสอบการบดอัดดินว่าควรจะใช้ Standard Compaction หรือ Modified Compaction คืออะไร
 
11. จง Sketch กราฟ Compaction Curve ของการบดอัดแบบ Standard Compaction และ Modified Compaction อย่างคร่าวๆ ระบุด้วยว่าแกนตั้งและแกนนอนคืออะไร เพราะเหตุใดกราฟที่ได้จึงมีลักษณะนี้
 
12. สมมุติว่านิสิตกำหนดมาตรฐานในการบดอัดขึ้นมาเอง โดยใช้อุปกรณ์ดังต่อไปนี้
  - ขนาดของ Mold : Diameter = 6 นิ้ว , ส่วนสูง = 6 นิ้ว
  - น้ำหนักของ Hammer = 12 ปอนด์ (lb)
  - จำนวน Layer = 4
  - Height of Drop = 10 นิ้ว
  - จำนวน Blow ต่อ Layer = 24
  จงหาปริมาณพลังงานต่อหน่วยปริมาตรที่ใช้ในการบดอัด(ft.lb/ft3)
13. จง Sketch กราฟ Compaction Curve ที่ได้จากการบดอัดตามมาตรฐานในข้อ 12 เทียบกับ Standard และ Modified Compaction ในข้อ 11
 
14. จงเขียนกราฟ (Typical Compaction Curve) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของกราฟ ของดินชนิด
  1. Clayey Soil  
  2. Sand  
  3. Lateritic Soil  
  4. Crushed Rock  
  ตามที่ท่านได้ทำการทดลองมาดูพอเป็นสังเขป
 
15. Relative Compaction คืออะไร
 
16. ดินชนิดหนึ่งมีค่า ความหนาแน่นแห้งสูงสุดภายหลังการบดอัดเท่ากับ 1.93 t/m3 และเมื่อ นำดินนี้ไปใช้บดอัดในสนาม ทดสอบค่าความหนาแน่นแห้งในสนาม ได้ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.81 t/m3 ดินชนิดนี้ มีค่า เปอร์เซ็นต์การบดอัด(Relative Compaction) เท่าใด
 
17. การทำ Trial Section สำหรับงานบดอัดดินจะต้องพิจารณาปัจจัยที่สำคัญคืออะไร
18. ในการหาค่า Optimum Water Content และ Maximum Dry Density อาจมีความจำเป็นต้องใช้กราฟอธิบายผลการทดลองการบดอัด ให้นิสิตเลือกว่าจะใช้สมการใด ในการอธิบายกราฟ
  1. y = A e(BX + C) โดยที่ A, B, C เป็นค่าคงที่ใดๆ และ A>0
  2. y = Ax2 + BX + C โดยที่ A, B, C เป็นค่าคงที่ใดๆ และ A>0
  3. y = A sin (BX + C) โดยที่ A, B, C เป็นค่าคงที่ใดๆ
  4. y = A ln (BX + C) โดยที่ A, B, C เป็นค่าคงที่ใดๆ และ A>0, B>0, C>0
 หมายเหตุ : Y = แกนตั้ง , X = แกนนอน
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์การเตรียมตัวอย่างดินวิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์