หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
วิธีร่อนผ่านตะแกรง
          น้ำหนักดินแห้งที่พอดีจะใช้ในการทดสอบนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเม็ดใหญ่ที่สุด ดังแสดงในตารางด้านล่าง และขั้นตอนการทดลอง ได้ดังนี้
ตารางแสดงน้ำหนักตัวอย่างดินแห้งในการร่อนผ่านตะแกรง
ขนาดเม็ดใหญ่ที่สุด (นิ้ว)
3/8
3/4
1
2
3
น้ำหนักตัวอย่างดินอย่างน้อย, กรัม
500
1000
2000
3000
4000
5000

          1. ชั่งตะแกรงทุกๆ ขนาดที่ใช้ โดยตาชั่งอ่านได้ถึง 0.1 กรัม โดยตะแกรงชุดหนึ่งไม่ควรเกิน 7 ใบ โดยมีขนาดละเอียดถึงเบอร์ 200 อยู่ด้วยทุกครั้ง

ทำความสะอาดตะแกรงขนาดหยาบด้วยแปลงลวด และขนาดละเอียดด้วยแปลงขนอ่อน
นำตะแกรงแต่ละอันชั่งน้ำหนัก
          2. ในกรณีที่ตัวอย่างดินเกาะเป็นก้อนใหญ่ให้ทุบ แยกดินออกเป็นเม็ดอิสระด้วยค้อนยาง แต่ต้องระวังอย่าให้แรงมากจนเม็ดดินแตก
          3. นำตัวอย่างดินที่อบชั่งน้ำหนักแล้วใส่ลงในตะแกรงที่เรียงลำดับจากหยาบไปหาละเอียด โดยมีฝาปิดด้าน บนและมีถาด (PAN) รองด้านล่าง รวมเป็นเถาของตะแกรงนำไปเข้าเครื่องเขย่า (Sieve Shaker) เขย่านานอย่างน้อย 10 นาที ดังแสดงในรูปด้านล่าง
   
   
          4. ชั่งทั้งดินที่ค้างอยู่ในแต่ละตะแกรงรวมทั้งน้ำหนักตะแกรง แล้วนำไปคำนวณหาค่า %F ดังแสดงในรูป
 
น้ำหนักตะแกรง+น้ำหนักดินที่ค้างตะแกรง
คลิกเพื่อขยายรูป
ตัวอย่างข้อมูลการ Sieve
ข. วิธีตกตะกอน

          ก่อนทำ ผู้ทดลองควรลองจุ่มไฮโดรมิเตอร์ในลักษณะที่ถูกต้องเสียก่อน โดยจับก้านไฮโดรมิเตอร์ทั้งสองมือ แล้วค่อย ๆ หย่อนลงในกระบอกตกตะกอน จนใกล้เคียงตำแหน่งที่ไฮโดรมิเตอร์จะลอยตัวได้จึงค่อย ๆ ปล่อย ถ้าปล่อยสูงเกินไปจะทำให้ไฮโดรมิเตอร์จมลงไปกระทบก้นกระบอก เกิดแตกหักเสียหายได้

วัดขนาดกระเปาะไฮโดรมิเตอร์ และกระบอกตกตะกอน
          การหาความสัมพันธ์ของ Rc และ h จะทำได้โดยการวัดขนาดกระเปาะไฮโดรมิเตอร์ (L), ความยาวก้านจาก 1.00 ถึง 1.040 (Ls ), ปริมารตกระเปาะ (Vb ) โดยอ่านจากการจุ่มไฮโดรมิเตอร์ลงในกระบอกตวง แล้วอ่านระดับน้ำที่เปลี่ยนไป, พื้นที่หน้าตัดของกระบอกตกตะกอน (Aj ) แล้วนำไปคำนวณเขียนกราฟดังที่กล่าวไว้ข้างต้น สำหรับขั้นตอนการทดลองทำได้ดังนี้
          1. นำตัวอย่างดินแห้งประมาณ 50 กรัม ผสมน้ำกลั่น และน้ำยา Dispersing Agent (4% สารละลาย Sodium hexa meta phosphate) ดังรูปด้านล่าง จนได้น้ำผสมประมาณ 300 – 500 ลบ.ซม.
   
          2. ปั่นกวนส่วนผสมโดยใช้เครื่องผสมไฟฟ้าประมาณ 10 นาที เพื่อให้เม็ดดินที่จับกันเป็นก้อนแยกออกจากกัน แล้วเทลงในกระบอกตกตะกอน ใช้น้ำกลั่นฉีดล้างเศษดินจากเครื่องผสมลงให้หมด เติมน้ำให้ได้ระดับ 1000 ลบ.ซม. ดังรูปด้านล่าง
ปั่นกวนส่วนผสม
เทลงในกระบอกตกตะกอน
เติมน้ำให้ได้ระดับ 1000 ลบ.ซม.

          3. ใส่น้ำกลั่นในกระบอกตวงไว้ข้างๆ อีกหนึ่งกระบอกไว้เพื่ออ่านค่าปรับแก้ เนื่องจากอุณหภูมิและแช่ไฮโดรมิเตอร์ในระหว่างที่ไม่ใช้วัด

          4. ใช้จุกยางปิดปากกระบอกตกตะกอน เขย่าส่วนผสมให้เข้าโดยสม่ำเสมอ แล้ววางลง เริ่มจับเวลาทันที
     
          5. หย่อนไฮโดรมิเตอร์ไปอ่านค่า Ra ที่เวลา 0.25, 0.5, 1 และ 2 นาที โดยไม่ยกไฮโดรมิเตอร์ออก จนกระทั่ง 2 นาที ให้ยกไฮโดรมิเตอร์ออก แล้วเขย่ากระบอกใหม่
     
          6. วางกระบอกให้เกิดการตกตะกอนอีกครั้ง แล้ววัด R1 ที่ 2, 5, 10, 20, ….ฯลฯ จนไฮโดรมิเตอร์อ่านประมาณ 8 ถึง 15 ขีด ซึ่งอาจกินเวลาถึง 1 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น ในระหว่างการอ่านให้วัดอุณหภูมิด้วยอย่างน้อยทุกๆ 1 ชม.
วัดการตกตะกอนตามเวลาที่กำหนดไว้
วัดอุณหภูมิอย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมง
          7. เมื่อทดลองเสร็จแล้ว เทส่วนผสมลงในถาด นำเข้าเตาอบเพื่อหาน้ำหนักดินแห้งที่แน่นอนอีกครั้ง
เขย่าดินที่ตกตะกอนก่อนเทลงถาด
เทลงถาดแล้วนำเข้าตบอบเพื่อหาน้ำหนักดินแห้ง
   
ผู้ทดสอบ : นายวิษณุพงศ์ พ่อลิละ
   
สถานที่ : ห้องปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
   
ผู้บรรยาย : นางสาวธรรมธิดา รัตนประทีป
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์วิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์