หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
วิธีการสำรวจ
ก. เจาะโดยใช้สว่านมือ
           1. เลือกตำแหน่งหลุมเจาะที่ต้องการ ถางหญ้าหรือทำความสะอาดผิวดินบริเวณหลุมเจาะเพื่อสะดวกในการทำงาน ถ้าสามารถทราบค่าระดับ (Elevation) ที่ผิวดิน ณ. หลุมเจาะจะได้ข้อมูลที่ดี แต่ถ้าไม่ทราบให้ถือว่าผิวดินเป็นระดับ 0.00 ม.
 
           2. เปิดปากหลุม โดยใช้จอบหรือเสียมนำโดยเฉพาะถ้าดินผิวหน้าแข็งหรือมีเศษผง เศษอิฐอยู่มากจนกระทั่งถึงผิวดินจริง
 
           3. ใช้สว่านมือ โดยใช้คนอย่างน้อย 2 คน ช่วยกันกดแล้วหมุน ถ้าเป็นสว่านแบบ Iwan ช่วงหนึ่งจะลงไปได้ประมาณ 20 ซม. ดินก็จะเต็มใบสว่าน นำขึ้นมาล้างดินออก โดยกองรวมกันไว้ที่หนึ่ง จะใช้ประโยชน์ในการดูความลึกของชั้นดินได้ภายหลัง
 
           4. ใช้สว่านเจาะลงไปในลักษณะเดียวกัน โดยใช้เศษดินนำไปกองต่อกันเป็นแถวจะทำให้เห็นความแตกต่างของชั้นดินได้ชัด บันทึกความลึกที่ชั้นดินเปลี่ยนไปสี และการจำแนกดินในชั้นต่างๆ ให้ชัดเจนลงในแบบบันทึก “Boring Log”
 
           5. เมื่อถึงระดับความลึกที่ต้องการเก็บตัวอย่างดิน (เพื่อการศึกษาขอแนะนำให้เก็บตัวอย่างทุกๆ ความลึก 1.50 ม.) นำกระบอกเปลือกบางติดข้อต่อเก็บดินและก้านเจาะหย่อนลงก้นหลุม แล้วค่อยๆ กดด้วยแรงคน (ถ้าดินแข็งให้ใช้คานงัดช่วย) จนกระบอกจมลึกลงไปประมาณ 50 – 60 ซม. ดินจะเข้าไปในกระบอกเพียงพอแล้วหมุนก้านเจาะเวียนขวา 3 รอบเป็นการเฉือนตัวอย่างดินที่ปลายกระบอกให้ขาด แล้วจึงดึงกระบอกขึ้น
 
           6. นำกระบอกเก็บดินมาล้างทำความสะอาดภายนอก แล้วอุดด้วยพาราฟินกันความชื้นระเหยออกไป ปิดฉลาก ระบุตำแหน่งหลุมเจาะ, ความลึก, วันที่, และข้อมูลอื่นที่จำเป็น แล้ววางไว้ในที่ปลอดภัย เพื่อรวบรวมส่งไปห้องทดลอง
 
           7. ใช้สว่านมือเจาะลงไปอีก แล้วเก็บตัวอย่างตามความลึกที่ต้องการ จนกระทั่งถึงระดับ 4 ถึง 6 เมตร จะทำงานไม่สะดวก เพราะก้านเจาะจะหนักเกินไปสำหรับแรงคน หรือมีน้ำใต้ดินเข้ามาในหลุมทำให้เศษดินไม่ติดใบสว่าน จะต้องเปลี่ยนไปใช้การเจาะแบบฉีดล้าง หรือการเจาะแบบอื่น ๆ แทน
 
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรวจ เปิดปากหลุมเจาะที่ต้องการ
ใช้สว่านมือ โดยใช้คนอย่างน้อย 2 คน ช่วยกันกดแล้วหมุน
ตำแหน่งหลุมเจาะ การเก็บตัวอย่างดินที่ได้จากการสำรวจ
ข. เจาะแบบฉีดล้าง
           อาจทำต่อจากการเจาะโดยใช้สว่านมือ หรือเจาะแต่เพียงลำพังก็ได้ โดยมีวิธีการข้อ 1 และ 2 เหมือนการเจาะโดยใช้สว่านมือ แล้วดำเนินการต่อไปดังนี้

           1. ตั้งสามขา โดยให้จุดศูนย์กลางอยู่ตรงกับหลุมที่เตรียมไว้แล้ว ติดตั้งเครื่องกว้านและปั๊มน้ำ ดังรูป ก้านเจาะและหัวต่อต่าง ๆ ควรเตรียมไว้บริเวณใกล้ ๆ กันเพื่อสะดวกในการใช้งาน

 
คลิกเพื่อขยายรูป
คลิกเพื่อขยายรูป
           2.ร้อยเชือกป่านมนิลาจากเครื่องกว้านผ่านรอกที่ปลายสามขาแล้วยึดไว้กับหัวหิ้ว (Swivel) ที่ปลายบนของก้านเจาะ สวมท่อน้ำจากปั๊มเข้าปลายก้านเจาะ
 
           3. เริ่มปั๊มน้ำผ่านก้านเจาะลงไปฉีดที่ปลายหัวเจาะ พร้อม ๆกับใช้เครื่องกว้านยกหัวเจาะขึ้นลงเพื่อกระแทกดิน ที่ก้นหลุม จนเศษดินจะไหลตามน้ำขึ้นมาที่ปากหลุม แล้วปล่อยให้ไหลลงในบ่อตกตะกอน แล้วจึงสูบน้ำใสไปใช้ได้อีกครั้ง

 
           4. เมื่อก้นหลุมลึกพอสมควร (ลึกกว่า 1.0 เมตร) ต้องใส่ปลอกเหล็กกันดินพังลงไปเป็นท่อนๆ (ท่อนละ 1.5เมตร) ตามความจำเป็น เมื่อถึงความลึกที่ต้องการก็ดำเนินการเก็บตัวอย่างดินดังข้อ 5 และ 6 ในการเจาะโดยใช้สว่านมือ

 
อุดด้วยพาราฟิน กันความชื้นระเหย ปิดฉลาก ระบุ ตำแหน่งหลุมเจาะ ความลึก วันที่ และข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น
 
   
ผู้ทดสอบ : นายวรวัชร์ ตอวิวัฒน์ , นายสุปรีชา ฟุ้งกีรติ
   
สถานที่ : ด้านหลัง อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(อาคาร 7)
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
   
ผู้บรรยาย : นางสาวธรรมธิดา รัตนประทีป
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีวิธีการสำรวจการบันทึกข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์