หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
          การทดสอบ ใช้ผู้ปฏิบัติงาน 2-3 คน รวมทั้งผู้จดบันทึกข้อมูล เมื่อเริ่มการทดสอบ ตอกยึดแผ่นฐาน (Base Plate) บนพื้น ต่อหัวกรวยที่ปลายล่างของก้านเจาะ ต่อชุดที่ตอกและก้านนำที่ปลายบน ยกลูกตุ้มสูง 50 ซม. (ที่รอยขีด) ปล่อยตกอิสระ ตอกหัวกรวยลงไปในดิน นับจำนวนครั้งลูกตุ้มตอกทุกๆ ระยะหัวกรวยจมที่รอยขีดที่ก้านเจาะ(0.1 เมตร) ในการตอกจะต้องตอกด้วยอัตราความเร็วประมาณ 3 ครั้ง/นาที โดยต่อเนื่อง ถ้าหยุดพักขาดช่วงการตอก จะต้องหมายเหตุไว้เมื่อตอกหัวกรวยจนปลายบนของก้านตอกลดต่ำลงระดับหนึ่งที่ไม่สะดวกในการทำงานก็ต่อก้านตอกท่อนต่อไป ทดสอบจนถึงความลึกที่ต้องการหรือไม่สามารถตอกหัวกรวยลงไปได้ (Refusal) ถอนก้านตอกขึ้น พร้อมที่จะทดสอบหลุดต่อไป
กำหนดตำแหน่งบริเวณที่ทำการทดสอบ
ต่อหัวกรวยที่ปลายล่างของก้านเจาะ ต่อชุดที่ตอกและก้านนำที่ปลายบน
ขีดบอกระยะที่ก้านเจาะทุก 20 ซม. เพื่อให้เห็นระยะที่ชัดเจน
ยกลูกตุ้มสูง 50 ซม. ปล่อยตกอิสระ นับจำนวนครั้งลูกตุ้มตอกทุกๆ ระยะ 20 ซม.
   
ผู้ทดสอบ : นายเชิดพันธุ์ อมรกุล, นายณัฐพล ไชยศิวามงคล, นายวรวัชร์ ตอวิวัฒน์
   
สถานที่ : สนามฟุตบอล (สนามอินทรีจันทรสถิตย์)
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
   
ผู้บรรยาย : นางสาวธรรมธิดา รัตนประทีป
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์ 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์