หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
          1. ทำความสะอาดกระป๋องตัวอย่างดิน ตรวจสอบเบอร์กระป๋อง ชั่งน้ำหนักกระป๋อง (W1) ถ้าเป็นกระป๋องแบบมีฝาปิด
 
 
          2. ตรวจสภาพตัวอย่างดิน เลือกตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนดินในกอง หรือคัดจากตัวอย่างดินคงสภาพ ขนาดน้ำหนักดินที่ใช้ แสดงในตารางที่ 1 สำหรับดินเหนียว ควรใช้น้ำหนักตัวอย่างดินอย่างน้อย 100 กรัม
 
ตารางที่ 1 ขนาดน้ำหนักตัวอย่างทดสอบหาความชื้น (ASTM D-2216)
ขนาดเม็ดดินที่ค้างตะแกรงมากกว่า 10% ของตัวอย่าง
ขนาดมวลตัวอย่างชื้นที่แนะนำ (ต่ำสุด), กรัม
2.0 มม (เบอร์ 10)
100 - 200
4.75 มม (เบอร์ 4)
300 - 500
19.0 มม (เบอร์ 3/2)
500 - 1000
38.0 มม (เบอร์ 1 1/2)
1500 - 3000
76.0 มม (เบอร์ 3)
5000 - 10000
 
          3. บรรจุตัวอย่างดินลงในกระป๋อง ถ้าเป็นตัวอย่างดินเหนียวที่เป็นก้อน ใช้มีดหั่นเป็นชิ้นบางๆ เพื่อให้แห้งง่าย ถ้าเป็นกระป๋องที่มีฝาปิด หลังบรรจุตัวอย่างเสร็จ ปิดฝาไว้
 
 
          4. ชั่งน้ำหนักตัวอย่างดินเปียกรวมกระป๋อง (W2) ถ้าเป็นกระป๋องที่ไม่มีฝาปิด ต้องรีบชั่งตัวอย่างทันทีที่บรรจุตัวอย่างเสร็จ ส่วนกระป๋องมีฝาปิด หลังจากปิดฝาแล้ว อาจใส่ถาดรวมไว้หลายๆ ตัวอย่างจึงนำไปชั่งครั้งเดียวกัน
          5. นำกระป๋องตัวอย่างเข้าอบในตู้อบ ถ้าเป็นกระป๋องตัวอย่างที่มีฝาปิด เปิดฝาออกสอดฝาไว้ที่ก้นกระป๋อง การทดลองที่มีกระป๋องตัวอย่างหลายๆ กระป๋อง ควรหาภาชนะใส่กระป๋องรวมกัน เพื่อสะดวกในการค้นหาตัวอย่างที่แห้งแล้ว
          6. หลังอบตัวอย่างไว้ข้ามคืน (ประมาณ 18-24 ชั่วโมง) นำกระป๋องตัวอย่างดินออกจากตู้อบ แล้วปิดฝากระป๋อง นำตัวอย่างกระป๋องตัวอย่างไปใส่ไว้ในอ่างแก้วดูดความชื้น (ถ้ามี) ทิ้งไว้จนกระทั่งเย็น
          7. นำกระป๋องตัวอย่างที่เย็นแล้วขึ้นชั่ง เป็นน้ำหนักตัวอย่างดินแห้งรวมกระป๋อง (W2) จดบันทึกน้ำหนักให้ถูกต้องตามเบอร์กระป๋อง
   
ผู้ทดสอบ : นายวิษณุพงศ์ พ่อลิละ
   
สถานที่ : ห้องปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
   
ผู้บรรยาย : นายบรรพต กุลสุวรรณ
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์วิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลอง 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์