เข้าสู่ระบบ
 
   
  1.SubsoilDB-KU คืออะไร  
     
 

    ระบบ SubsoilDB-KU (Subsoil  Database-Kasetsart University) เป็นระบบเรียกดูข้อมูลชั้นดิน บริเวณภาคกลางตอนล่างผ่าน Web-GIS Interface ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ชนิด ดังนี้

 
     
 
ข้อมูลหลุมเจาะเฉลี่ยรายกริด
 
     
 
คลิกเพื่อขยายภาพ คลิกเพื่อขยายภาพ
 
     
 
ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ของชั้นดินต่างๆ
 
     
 
ข้อมูลภาพตัดชั้นดิน (Soil Profile)
 
 
คลิกเพื่อขยายรูป คลิกเพื่อขยายรูป คลิกเพื่อขยายรูป คลิกเพื่อขยายรูป คลิกเพื่อขยายรูป
คลิกเพื่อขยายรูป คลิกเพื่อขยายรูป คลิกเพื่อขยายรูป คลิกเพื่อขยายรูป คลิกเพื่อขยายรูป
คลิกเพื่อขยายรูป คลิกเพื่อขยายรูป คลิกเพื่อขยายรูป คลิกเพื่อขยายรูป คลิกเพื่อขยายรูป
 
     
       โดยข้อมูลที่แสดงผลได้จากข้อมูลหลุมเจาะแบบ Wash Boring จากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 4,600 หลุม ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความแปรปรวนของข้อมูลแล้ว โดยทุกลักษณะข้อมูลที่ค้นหาได้แสดงผลในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านวิศวกรรมหรือด้านที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การวางแผนและออกแบบโครงการเบื้องต้น, การออกแบบโครงการขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดในการเจาะสำรวจดิน, การศึกษาลักษณะชั้นดินโดยรวม, การนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน, ศึกษาผลกระทบชั้นดินเนื่องจากแรงแผ่นดินไหว และลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ;  
     
 

2.การให้บริการข้อมูล

 
     
 

1. ไม่เผยแพร่ข้อมูลชั้นดินแบบรายหลุมเจาะ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจเจาะสำรวจดิน

2. เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะเฉพาะข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านที่สนใจ

3. เผยแพร่ข้อมูลหลุมเจาะเฉลี่ยรายกริด และภาพตัดชั้นดินโดยรวม สำหรับสมาชิกที่ลงทะเบียนแล้ว

4. ผู้ใช้จำเป็นต้องลงทะเบียนกับระบบเพื่อสมัครสมาชิก

5. ผู้ใช้สามารถนำเข้าข้อมูลหลุมเจาะและเรียกดูข้อมูลได้เฉพาะหลุมเจาะที่เป็นของผู้ใช้เท่านั้น

 
     
 

3.การเข้าถึง SubsoilDB-KU

 
     
 

การเข้าถึงข้อมูลของระบบนี้ แบ่งสมาชิกเป็น 3 ประเภท คือ สมาชิกทั่วไป, สมาชิกรายปี และสมาชิกร่วมวิจัย โดยต้องลงทะเบียนก่อนจึงจะเข้าถึงข้อมูลของระบบได้ ซึ่งสามารถเรียกดูข้อมูลได้ดังนี้

 
     
 

3.1 สมาชิกทั่วไป

 
 

 เป็นการสมัครใช้บริการแบบไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถเรียกดูได้เฉพาะข้อมูลเชิงพื้นที่ และสามารถดาวน์โหลดแผนที่ของชั้นดินต่างๆ ได้ เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่สนใจภาพรวมของชั้นดินบริเวณภาคกลางตอนล่าง

 
 

 

 
  3.2 สมาชิกรายปี  
  เป็นการสมัครใช้บริการแบบมีค่าใช้จ่าย เพื่อใช้ในการบำรุงรักษา และพัฒนาระบบต่อไป เหมาะสำหรับบริษัทที่ปรึกษา บริษัทเจาะสำรวจดิน และบริษัทรับเหมาที่ต้องการดูข้อมูลชั้นดินเฉลี่ยภายในพื้นที่ 25 ตร.กม. เพื่อใช้วางแผนเบื้องต้นสำหรับงานโครงการต่างๆ โดยสามารถเรียกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ดังนี้  
  » ข้อมูลหลุมเจาะเฉลี่ยรายกริด (5x5 ตร.กม.) ที่กระจายตัวครอบคลุมภาคกลางตอนล่าง
» ข้อมูลภาพตัดชั้นดินโดยรวม (ไม่จำกัด Section)
 
     
  3.3 สมาชิกร่วมวิจัย  
  รับให้คำปรึกษาหรือร่วมดำเนินการศึกษางานทางด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงานธรณีวิศวกรรมต่างๆ ที่ต้องอาศัยฐานข้อมูลดิน Subsoil DB-KU  
     
 

หมายเหตุ เมื่อลงทะเบียนกับระบบแล้วสามารถใช้ User และ Password เดิมในการ Log in ครั้งต่อไปได้

 
     
  4.การจัดการค่าสมาชิก  
     
 

การบริหาจัดการค่าสมาชิก แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

 
     
 

4.1 เพื่อพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง เช่น

 
  » ข้อมูลหลุมเจาะเฉลี่ยรายกริด สามารถแบ่งกริดให้เล็กลงได้อัตโนมัติ เมื่อมีหลุมเจาะเพิ่มในกริดตามข้อกำหนด
» ทำให้ข้อมูลเฉลี่ยรายกริดเหมาะสมในแต่ละพื้นที่มากขึ้น ส่งผลให้ Contour และ Soil Profile มีความละเอียดขึ้นตามไปด้วย
» ภาพตัดชั้นดินที่สามารถกำหนดหรือแบ่งชั้นดินได้ตามความต้องการของผู้ใช้, การแปลผลภาพตัดชั้นดินในลักษณะ 3 มิติ
» การนำเข้าข้อมูลหลุมเจาะ ที่สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มกลับไปกรอก แล้วส่งกลับเข้าระบบฐานข้อมูลได้
» ระบบให้บริการข้อมูลชั้นดินผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ช่วยให้ตัดสินใจวางแผนโครงการได้ง่ายขึ้น
 
     
  4.2 เพื่อทำให้ข้อมูลชั้นดินมีความน่าเชื่อถือขึ้น  
 

โดยมีการเจาะสำรวจเพิ่มเติมในบริเวณที่ยังขาดแคลนข้อมูลหรือบริเวณที่ไม่แน่ใจผลการวิเคราะห์ ในกรณีที่มีข้อมูลหลุมเจาะในกริดน้อย หรือในบริเวณที่มีชั้นดินแปรปรวนสูง เป็นต้น

 
     
 

4.3 เพื่อเป็นทุนวิจัยสำหรับงานด้านวิศวกรรมปฐพี

 
     
  5.ทำไมต้อง SubsoilDB-KU  
     
  » รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลชั้นดินได้อย่างเป็นระบบ
» ประหยัดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาฐานข้อมูลชั้นดินของแต่ละหน่วยงาน
» ประหยัดเวลาในการจัดทำเอกสารผลการเจาะสำรวจดิน
» สร้างมาตรฐานในการเจาะสำรวจดินด้วยระบบตรวจสอบข้อมูลชั้นดิน
» ดูภาพรวมลักษณะชั้นดินด้วยการค้นหาแบบกริด, แบบ Contour และ Soil Profile
» User สามารถพัฒนาฐานข้อมูลร่วมกับ Amin ของระบบได้ (สามารถขยายฐานข้อมูลหรือวิเคราะห์ข้อมูลที่สนใจได้)
 
 
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : นายเชิดพันธุ์ อมรกุล : 0-2579-2265