HomeAbout usNewsPaperPresentationLibraryGraduate School at KU
 
 
 
 
จากงานวิจัย พัฒนาสู่การป้องกันภัย
“ระบบเตือนภัยดินถล่มประเทศไทย”
 
 
     กรมทรัพยากรธรณี ร่วมมือกับศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก พัฒนา “ระบบเตือนภัยดินถล่มของประเทศไทย” โดยมีรองศาสตราจารย์สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ เป็นหัวหน้าคณะวิจัย ทั้งนี้ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีระบบเตือนภัยดินถล่มอัตโนมัติที่สามารถประมวลผลจากส่วนกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาเป็นการคาดการสถานการณ์จากการติดตามตรวจวัดปริมาณน้ำฝนเป็นหลัก ดังนั้นกรมทรัพยากรธรณีซึ่งมีภารกิจตามกฎหมายด้านการเตือนภัยดินถล่มจึงได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยฯวิศวกรรมปฐพีฯดำเนินการสร้างระบบดังกล่าวขึ้นสำหรับประเทศไทย ทั้งนี้เนื่องจากศูนย์วิจัยฯเป็นหน่วยงานวิจัยที่ศึกษาด้านดินถล่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ปัจจุบันมีผลงานวิจัยด้านดินถล่มไม่น้อยกว่า 15 โครงการศึกษาและวิจัย และมีบทความเผยแพร่งานวิจัยไม่น้อยกว่า 50 บทความ โดยในระยะหลังได้เน้นการวิจัยเพื่อมุ่งเตือนภัยมากขึ้น โดยมีการร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาระบบกับหน่วยงานวิจัยอื่นๆเพื่อนำเทคโนโลยีต่างๆมาช่วยในการดำเนินงาน เช่น หน่วยวิจัยเทคโนโลยีธรณีสิ่งแวดล้อมและพิบัติภัยธรรมชาติ ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ และ ศูนย์การจัดการและประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียม-สถานีรับสัญญาณจุฬาภรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น
 
     ระบบการเตือนภ้ยดินถล่มอัตโนมัติที่อยู่ระหว่างดำเนินการนี้เป็นระบบประมวลผลข้อมูลน้ำฝนที่ได้จากแบบจำลองการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนจากดาวเทียมและจากแบบจำลองทางอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลจะถูกส่งเข้าแบบจำลองการวิเคราะห์พื้นที่โอกาสเกิดดินถล่มที่พัฒนาโดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ และแสดงผลในรูปแบบแผนที่พื้นที่โอกาสเกิดดินถล่ม ข้อมูลแผนที่จะถูกส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเตือนภัยและสื่อมวลชนที่ต้องรายงานข้อมูลอุตุนิยมวิทยา โดยระบบสามารถรับและประมวลผลข้อมูล(เฉพาะพื้นที่ที่กำหนด)ได้ทุกๆ 15นาที ทั้งนี้ระบบดังกล่าวจะช่วยลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากภัยดินโคลนถล่มและน้ำป่าไหลหลากได้เป็นอย่างดี งานศึกษาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยของนิสิตปริญญาโท 2 คนและปริญญาเอก 1 คน
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับดินถล่ม