HomeAbout usNewsPaperPresentationLibraryGraduate School at KU
 
 
 
 
การสำรวจและประเมินการพิบัติของเหตุการณ์ดินถล่ม
ในพื้นที่อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด
 
     

     จากเหตุการณ์อุทกภัยและวาตภัย เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2553 ในพื้นที่อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ส่งผลให้บริเวณเส้นทางสายคลองสน-มาบค้างคาว เกิดดินถล่มทับผิวจราจร และน้ำป่ากัดเซาะผิวจราจรทำให้ถนนเสียหาย นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รับความเดือดร้อน ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยในแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ จังหวัดตราด จึงได้เร่งดำเนินการสำรวจและซ่อมแซมถนนที่เสียหายให้เป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย และได้ขอรับการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา จากสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ให้ช่วยตรวจสอบสภาพความเสียหายของถนนและวิธีดำเนินการซ่อมแซม

 

     วสท. จึงขอความอนุเคราะห์ให้ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ (ผู้เชี่ยวชาญด้านดินถล่ม) และกรรมการในอนุกรรมการสาขาวิศวหรรมปฐพี นายรัฐธรรม อิสโรฬาร (วิศวกรปฐพี) และนายสิริศาสตร์ ยังแสนภู (นักธรณีวิทยา) จากศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการสำรวจและประเมินการพิบัติของเหตุการณ์ดินถล่ม ร่วมกับป้องกันภัยจังหวัดตราด พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะมอบให้จังหวัดตราดใช้เป็นข้อมูลในการซ่อมแซมถนนต่อไป โดยการสำรวจดำเนินการในวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2553 และได้รายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตราด น.ส.เบญจวรรณ อ่านเปรื่อง เมื่อเสร็จสิ้นการสำรวจ

 
 
    ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่า สาเหตุที่เกิดการพิบัติน่าจะเกิดจากการที่สภาพของลาดงานตัดหมดอายุ โดยลักษณะหินมีความผุพังสูงและมีสัญญาณของต้นไม้เอียงให้เห็นเป็นระยะ เมื่อลาดงานตัดรับน้ำฝนมากเกินไปจึงพิบัติมาขวางทางน้ำในร่องระบายน้ำ ทำให้น้ำไหลข้ามถนนลงไปกัดตีนส่วนงานถม จึงเกิดการพิบัติไหลลงไปทับบ้าน ส่งผลให้มีผู้เสียขีวิต 2 คน ทั้งนี้คณะสำรวจได้เสนอวิธีการแก้ไขในระยะสั้นและระยะยาวให้กับทาง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด เพื่อพิจารณาต่อไป