หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
มาตราฐานอ้างอิง :
  
ASTM D 4254-00
  
ASTM D 4253-00
 
          ค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight) มีความสำคัญ เป็นพื้นฐานในการคำนวณค่าหน่วยแรงกดทับของชั้นดินตามธรรมชาติที่ความลึกต่างๆ ซึ่งเป็นค่าคงตัวที่เป็นตัวแปรในสูตรการคำนวณต่างๆ เช่นการคำนวณค่าน้ำหนักบรรทุกของฐานราก การคำนวณการทรุดตัวของดิน เป็นต้น การทดลองหาค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight) โดนทั่วไปจะจำกัดเฉพาะดินเหนียวที่สามารถตั้งรูปทรงได้ ตัวอย่างที่ทดสอบต้องเป็นตัวอย่างดินคงสภาพ ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ไม่สามารถทดลองกับตัวอย่างทราย-กรวดได้ เพราะไม่สามารถเก็บตัวอย่างแบบคงสภาพได้ (การเก็บตัวอย่างด้วยกระบอกโดยทั่วไปถือว่าตัวอย่างจะถูกรบกวนไปบ้างแล้ว) อย่างไรก็ตามในบางกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องได้ค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight) ของดินสามารถทำได้หลายวิธี คือ
 
          1. วิธีใช้วงแหวนตัวอย่าง (Sample Ring) มีข้อดีที่ทดลองได้สะดวก รวดเร็วใช้ตัวอย่างดินน้อย ซึ่งเป็นตัวอย่างการทดลองในบทนี้ แต่อาจจะไม่เหมาะกับดินที่มีกรวด-ทรายปน
 
          2. วิธีใช้วัดปริมาตรดินในกระบอก สำหรับตัวอย่างดินที่แข็งมาก ไม่สามารถดันตัวอย่างดินออกจากกระบอกได้ และดินที่มีกรวด-ทรายผสม เมื่อดันตัวอย่างดินออกมาแล้ว อาจจะไม่ทรงตัว
 
          3. วิธีใช้หาปริมาตรของดินด้วยการแทนที่น้ำหรือปรอท สำหรับดินเหนียวที่มีสัมประสิทธิ์การซึมผ่านต่ำที่จะไม่ซึมซับน้ำเข้าไปในตัวอย่างในระยะเวลาสั้นๆ สามารถใช้วิธีแทนที่น้ำได้ ส่วนดินที่แห้งและแตกง่ายควรใช้วิธีแทนที่ปรอทวิธีนี้สามารถใช้กับตัวอย่างดินที่ไม่เป็นรูปทรงแน่นอน (Irregular Shape)
 
          อีกวิธีหนึ่งที่จะได้น้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight) ระหว่างทดลองแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด (Unconfined Compression Test) และทดสอบอัดตัวคายน้ำ (Consolidation Test) การทดสอบแรงอัด 3 แกน (Triaxial Test) เมื่อได้ทำการตัดแต่งตัวอย่างเป็นรูปทรงที่แน่นอน ก็สามารถคำนวณค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight) ได้โดยตรงและจะต้องรายงานค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight) ของตัวอย่างดินประกอบรายงานด้วยค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight) ของชั้นดินกรุงเทพที่ป้อมพระจุล ในตารางที่ 1
 
ตารางที่ 1 ตัวอย่างสรุปผลการทดสอบความชื้น น้ำหนักต่อหน่วยปริมาณ ชั้นดินที่ป้อมพระจุล
จังหวัดสมุทรปราการ (ทดสอบปฐพีกลศาสตร์ ,สถาพร คูวิจิตรจารุ , 2546)
 

น้ำหนักต่อหน่วยปริมาตร

ความลึก ,ม.

( Unit Weight ), kN / m3

ความชื้น , w,%

Total (รวม)

Dry (แห้ง)

0.95-1.50
14.70
7.30
100.9
2.45-3.00
1.49
0.80
86.0
3.95-4.50
1.60
0.97
64.5
5.45-6.00
1.64
1.04
58.1
6.95-7.50
1.67
1.11
50.7
8.45-9.00
1.51
0.82
84.7
9.45-10.50
1.49
0.80
86.7
11.40-12.00
1.58
0.92
71.3
12.90-13.50
1.55
0.88
75.3
14.40-15.00
1.62
1.02
59.1
15.90-16.50
1.88
1.42
32.1
17.40-18.00
1.83
1.35
35.7
18.90-19.50
1.87
1.40
33.9
20.40-21.00
2.07
1.75
18.3
21.90-22.50
2.12
1.77
19.6
23.40-24.00
2.07
1.71
21.2
25.10-25.50
2.02
1.66
21.3
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์วิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลอง 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์